ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

คนในชุมชนกำลังถูกคุกคาม


ใช่แล้วครับคนในชุมชนกำลังถูกคุกคามจากโรคเบาหวานสถิติแต่ละชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังแต่ละปีจะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกหน่วยงานของเทศบาลและ อสม.ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่มีการตรวจวัดคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชนอยู่บ่อยๆครั้ง

ปัญหาที่พบผู้ป่วยที่เป็นโรคหวานนั้นส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกายการดูแลอาหารการกินที่ไม่ถูกไม่วิธีและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

วันนี้บล๊อกเก้อของชุมชนบ้านเขาน้ำซับจะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานให้พี่น้องในชุมชนได้รับรู้และจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวานเพื่อนำไปปฎิบัติและหลีกเลี่ยงกับโรคร้ายตัวนี้



โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิคดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือจาการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ น้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆเช่น ตา ไต ระบบประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร
ในคนปกติในระยะที่ไม่ได้รับประทานอาหารตับจะมีการสร้างน้ำตาลออกมาตลอดเวลาเพื่อให้เป็นอาหารของสมองและอวัยวะอื่นๆ ในระยะหลังรับประทานอาหารพวกแป้งจะมีการย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อเพิ่มการนำน้ำตาลไปใช้ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมาเป็นปกติ
ในผู้ป่วยเบาหวานที่อาจเกิดจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลินทำให้ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ขณะเดียวกันมีการย่อยสลายไขมันและโปรตีนในเนื้อเยื่อมาสร้างเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทาให้มีน้ำตาลในเลือดสูง จนล้นออกมาทางไตและมีน้ำตาลในปัสสาวะ เป็นที่มาของคำว่า
เบาหวาน



อาการของโรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลคนปกติจะอยู่ในช่วง
70-99 มก./ดล. ก่อนรับประทาทนอาหารเช้า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจากค่าปกติไม่มากอาจไม่มีอาการชัดเจน จะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัย ถ้าไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานานผู้ป่วยอาจมาตรวจพบด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสูงกว่าค่าปกติมากอาจมีอาการจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือจากภาวะแทรกซ้อนได้แก่
• ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการที่น้ำตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงน้ำออกมาด้วย
• คอแห้ง ดื่มน้ำมาก กระหายน้ำ เกิดจาการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ
• หิวบ่อยทานจุ แต่น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากการที่ร่างกายใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน
• แผลหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย น้ำตาลที่สูงทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง

คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
• ตาพร่ามัว อาจเกิดจากน้ำตาลคั่งในเลนซ์ตา โรคจอประสาทตาจากเบาหวนหรือต้อกระจก

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
1.
มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากว่า 200 มก./ ดล.โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
2. ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
3.
การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัมที่อยู่ ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่าความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่า เป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
1.
มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากว่า 200 มก./ ดล.โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
2.
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
3.
การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง
100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัมที่อยู่ ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่าความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่า เป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน




ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังข่างต้น
• อายุมากกว่า
40 ปี
• มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
• เคยมีระน้ำตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน
• เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
• คลอดบุตรหนักมากกว่า
4 กก.
มีความดันโลหิตสูง
• มีไขมันในเลือดผิดปกติ
• มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง
• มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้แก่โรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง
ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวแม้ไม่มีอาการของโรคเบาหวานควรตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่าย สงสัยควรตรวจซ้ำในระยะ
1 ปี
ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น
4 ชนิดดังนี้
เบาหวานชนิดที่
1 มักพบในคนอายุน้อย มักต่ำกว่า 30 ปี มากที่สุดเกิดในช่วงวัยรุ่น เกิดจากตับอ่อน ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอม อาจเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงหรื หอเลือดเป็นกระคีโตน การรักษาต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5%
เบาหวานชนิดที่
2
มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีการหลั่งอินซูลินลดลง มักมีรูปร่างอ้วนและมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว สามารรักษาด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล ในรายที่เป็นนานๆการสร้างอินซูลินลอลงมากๆก็อาจต้องฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบมากกว่า 95%
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะ
เช่น โรคเบาหวานที่สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โรคของตับอ่อน ฮอร์โมนผิดปกติ จากยาบางชนิดเช่น ยาสเตียรอยด์ โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะผู้ป่วยตั้งครรภ์ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษามักต้องใช้อินซูลิน หลังคลอดเบาหวานมักหายไป และผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่
2 เมื่อมีอายุมากขึ้น


การป้องกันโรคเบาหวาน
การให้โภชนะบำบัดที่เหมาะสม การออกกำลังกายและ ลดน้ำหนัก
5-10% ในผู้ที่อ้วน สามารถลดการเป็นเบาหวานได้
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดจะต้องควบคุมโรคไปตลอดชีวิตและอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ การรักษาได้แก่
• การควบคุมอาหาร
• การออกกำลังกาย
• การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล และ
/หรืออินซูลิน
• การได้รับสุขศึกษาในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในกสนควบคุมโรคเบาหวานได้ถูกต้อง
โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
เป็นผลจากกาควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีอาจมีปัจจัยอื่นร่วมได้แก่ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง การสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น
เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ การเกิดเลือดเป็นกรดจากคีโตน ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูงจากการติดเชื้อ การเกิดน้ำตาลต่ำจากยาที่ใช้รักษา
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การควบคุมเบาหวานไม่ดีในระยะยาวทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในระยะยาวได้แก่ โรคจอประสาทตาจากเบาหวาน โรคไตวาย โรคประสาทส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย นำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและพิการ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา
เป้าหมายการควบคุมตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา
เป้าหมาย
1.
น้ำตาลก่อนอาหาร (มก./ดล.) 90-130
2.
น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง (มก./ดล.) <180
3.
น้ำตาลเฉลี่ย HbA1C (%) <7
4.
โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <180
5.
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) >40
6.
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <100
7.
ไตรกลีเซอไรด์ (มก./ดล.) <150
8.
ดัชนีมวลกาย (กก/ตรม.) <23
9.
ความดันโลหิต (มม.ปรอท) <130/80
10.
ออกกำลังกาย (นาที/สัปดาห์) 150
การกำหนดเป้าหมายอาจได้รับการพิจารณาในรายละเอียดเฉพาะในผู้ป่วยแต่ระรายโดยคำนึงถึงอายุ สภาวะร่างกาย และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น
แม้โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ

.พ ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท

............................................................................................................................................

สจ.อินทร์บุตร รายงานจากชุมชนบ้านเขาน้ำซับ

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

กฎหมายประชาชนที่ควรรู้ " การค้ำประกัน "



คนเราถ้าขัดสนเงินทองก็ต้องกู้เป็นหนี้เขา แต่เขาอาจจะไม่ยอมให้กู้ถ้าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับชำระหนี้คืน ค้ำประกันก็เป็นหลักประกันอันหนึ่ง
ค้ำประกัน คือการที่ใครคนหนึ่งทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้ การที่จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญมิใช่ตกลงกันด้วยปากเปล่าซึ่งฟ้องไม่ได้ ตามธรรมดาถ้าทำสัญญาค้ำประกันตามแบบซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเป็นแบบซึ่งทำโดยผู้รู้กฎหมาย แต่ถ้าทำกันเองก็อาจเกิดปัญหาได้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ก็ต้องระมัดระวังในข้อนี้ ในเอกสารนั้นต้องมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทน มิฉะนั้นอาจฟ้องผู้ค้ำประกันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นสัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย



ขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน
ผู้ค้ำประกัน จะไม่จำกัดความรับผิดหรือจะจำกัดความรับผิดชอบของตนไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการจำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน เช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี ผู้ค้ำประกันจะจำกัดความรับผิดเฉพาะกรณีที่บุคคลนั้น ทำความเสียหายเนื่องจากทุจริตต่อหน้าที่ไม่รวมถึงประมาทเลินเล่อด้วยก็ได้ เมื่อจำกัดความรับผิดไว้แล้วก็รับผิดเท่าที่จำกัดไว้ แต่ถ้าไม่จำกัดความรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาต่อเจ้าหนี้ ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดจนสิ้นเชิงเช่นเดียวกับลูกหนี้ทุกอย่าง เมื่อทำสัญญาประกันแล้วผู้ค้ำประกันต้องผูกพันตามสัญญานั้น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้รับผิดได้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด



สิทธิของผู้ค้ำประกัน
(
) เมื่อผู้ค้ำประกันถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ทันทีแต่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ ไปเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ก่อนได้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการและถ้า เจ้าหนี้ฟ้องเป็นจำเลยร่วมกับลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับจากลูกหนี้นั้นไม่เป็นการยาก ถ้าผู้ค้ำประกันนำพยานเข้าสืบและฟังได้เช่นนั้น ศาลก็ต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนเพราะหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระมิใช่เป็นหนี้ของผู้ค้ำประกันเอง ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ ชั้นที่สอง
บางกรณีเจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ในสัญญาสำเร็จรูป จะมีความว่า
ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้คือเป็นลูกหนี้ร่วมเท่ากับให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น ดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกัน จึงต้องพิจารณาว่าจะยอมรับผิดเช่นนั้นหรือไม่ ถ้ายอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยวดังกล่าวข้างต้น
(
) เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ไม่ว่าชำระแต่โดยดี หรือชำระหนี้โดยถูกบังคับตามคำพิพากษา ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ในอันที่จะเรียกเอาเงินชำระให้เจ้าหนี้ใช้แล้วนั้น คืนจากลูกหนี้ได้ตามจำนวนที่ชำระไปตลอดจนทั้งค่าเสียหายต่าง ๆ เนื่องจากการค้ำประกัน การเป็นผู้ค้ำประกันนั้นมีแต่เสีย
ตามคำพังเพยที่ว่าเนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง มีแต่เอากระดูกมาแขวนคอ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกัน ต้องพิจารณาตัวลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้แค ่ไหน และมีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด ทั้งต้องพิจารณาข้อความในสัญญาให้รอบคอบ บางทีกำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น หรือสละสิทธิบางอย่างอันอาจทำให้ ไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ไม่ได้ เมื่อเข้าใจข้อความในสัญญาดีแล้วจึงค่อยลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน




การพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
เมื่อเซ็นชื่อในสัญญาแล้วผู้ค้ำประกันก็มีภาระจะต้องรับผิดต่อเจ้าหน้าที่จนกว่าหนี้ของลูกหนี้ จะระงับไป ตราบใดที่หนี้ของลูกหนี้ยังมีอยู่ผู้ค้ำประกันก็ไม่พ้นความรับผิด แต่มีพฤติการณ์บางอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
(
) เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ คือถ้าได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เจ้าหนี้ยืดเวลา ต่อไปอีกผู้ค้ำประกันก็พ้นความรับผิด () เมื่อหนี้ของลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันเอาเงินไปชำระแก่เจ้าหนี้ไว้แน่นอนแล้ว แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากความรับผิดเช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

รักษา "ไข้เลือดออก"แนวใหม่ใช้ใบมะละกอคั้นน้ำกินเพิ่มเกล็ดเลือด


หมอ สธ. เผยการรักษาโรคไข้เลือดออกแนวใหม่ ใช้ใบมะละกอสดคั้นน้ำกินวันละ 30 ซีซี ช่วยเพิ่มเกล็ดเลือด อ้าง “อินเดีย-ปากีสถาน-มาเลย์”วิจัยในคนได้ผล

วันที่ 12 ก.ย. นพ.สมยศ กิตติมั่นคง  หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ “เดลินิวส์” ว่า  มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการรักษาโรคไข้เลือดออกแนวใหม่ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้  โดยจากการศึกษาข้อมูลซึ่งไปเจอโดยบังเอิญ   พบว่า สามารถใช้ใบมะละกอสดมาคั้นน้ำดื่มควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน  จะทำให้เกล็ดเลือดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นได้ภายใน 24-48 ชม.ช่วยลดอัตราการตายลงได้  ยังงงว่าประเทศไทยไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ ทั้งที่ใบมะละกอบ้านเรามีเยอะแยะ อีกทั้งช่วงนี้มีคนเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก
นพ.สมยศ  กล่าวต่อว่า  ส่วนตัวยังไม่เคยทดลองใช้ใบมะละกอกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก แต่มีงานวิจัยรองรับในหลายประเทศ มีการทดลองในคนไข้แล้วได้ผล   เช่น   ประเทศอินเดีย  ปากีสถาน มาเลเซีย   นอกจากนี้ยังมีการจดสิทธิบัตรน้ำใบมะละกอในต่างประเทศด้วย ไม่ได้ใช้เฉพาะผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำจากไข้เลือดออกเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ในกรณีอื่นด้วย



นพ.สมยศ กล่าวว่า  ผู้ป่วยไข้เลือดออก เกล็ดเลือดจะต่ำลงเรื่อย ๆ เนื่องจากมีภาวะเลือดออก และอาจทำให้เสียชีวิตได้  แต่การดื่มน้ำใบมะละกอวันละ  30 ซีซี. ติดต่อกัน 3 วัน ระดับเกล็ดเลือดที่ต่ำจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น  เมื่อถามว่า  ได้นำเสนอให้ผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องในกระทรวงสาธารณสุขได้รับทราบหรือยัง นพ.สมยศ กล่าวว่า ยัง แต่ได้เผยแพร่ใน WWW.ล้างพิษตับ.com เฟซบุ้กส่วนตัว ใส่ชื่อตนและเบอร์โทรศัพท์พร้อมให้ข้อมูลเรื่องนี้เพราะมีการรวบรวมงานวิจัยในเรื่องนี้เอาไว้หลายแห่ง อย่างไรก็ตามเริ่มพูดคุยกับ รพ.บางแห่งแล้ว
“สำหรับขั้นตอนการรักษาโรคไข้เลือดออกด้วยใบมะละกอสด  คือ  ใช้ใบมะละกอสดพันธุ์ใดก็ได้ประมาณ 50 กรัมจากต้นมะละกอ  จากนั้นล้างให้สะอาด และทำการบดให้ละเอียด ไม่ต้องเติมน้ำ กรองเอากากออก ดื่มน้ำใบมะละกอสด แยกกาก วันละ ครึ่งแก้ว หรือ 30 ซีซี ติดต่อกัน 3 วัน วิธีนี้มีการวิจัยมาแล้วว่าไม่เป็นอันตราย”นพ.สมยศ กล่าว
นพ.สมยศ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าสารสำคัญตัวใดในใบมะละกอที่สามารถช่วยเพิ่มระดับเกล็ดเลือด รู้แต่ว่ากินแล้วได้ผล และทดลองในคนได้ผล ดังนั้นเมื่อกินแล้วไม่มีผลเสีย หรืออันตราย ถือเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา เพราะปกติผู้ป่วยไข้เลือดออกก็รักษาไปตามอาการอยู่แล้ว ทั้งนี้ได้พูดคุยกับ รพ.บางแห่งแล้วให้ลองนำไปใช้ดู และได้แจ้งเรื่องนี้ให้เจ้าหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรคไปดูแล้ว
“ที่ออกมาพูดในเรื่องนี้ไม่ใช่ต้องการให้ผู้ป่วยไข้เลือดออกนอนดื่มน้ำใบมะละกออยู่บ้าน แล้วไม่ไป รพ.  ดังนั้นผู้ป่วยต้องไป รพ.  เพราะการวิจัยนี้ทำ รพ.ควบคู่กับการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบัน  เมื่อเจาะเลือดมาดูพบว่าระดับเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น โดยการวิจัยมีการเปรียบเทียบกัน 2 กลุ่มแล้วคือกลุ่มที่ควบคุมและไม่ควบคุมในการดื่มน้ำใบมะละกอ ”นพ.สมยศ กล่าว.



ที่มา
http://www.dailynews.co.th/politics/232509

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

กินอาหารไทยตายก่อนกำหนด



ตายผ่อนส่ง
คนเรายิ่งกลัวความตาย ก็ดูเหมือนว่าความตายจะเข้ามาใกล้ตัวทุกทีๆ อันโรคภัยไข้เจ็บที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์นั้น นับวันก็ดูจะมีมากและแปลกๆขึ้นไป โรคที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ก็เหมือนจะพัฒนาไปมากจนเราตามไม่ทัน ใครๆก็กลัวความตายและพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้อายุสั้น แต่ยิ่งนับวันก็ดูเหมือนว่าการจะมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยนั้นดูจะยากขึ้นยากขี้นไปทุกที
เอาแค่เรื่องอาหารที่เรารับประทาน เรามักจะได้ยินเรื่องของการปนเปื้อนอาหารจากความสับเพร่า หรือความมักง่าย หรือความเห็นแก่ได้ของคนขายและคนทำ เราอยู่ที่อเมริกานี้ยังดูเหมือนว่าจะปลอดภัยกว่าคนที่อยู่เมืองไทย ผู้เขียนเห็นข่าวเรื่องการปนเปื้อนอาหารที่เมืองไทยแล้วสยองไม่เชื่อลองอ่านดูก็ได้



“ กินอาหารไทยตายก่อนกำหนดแน่นอน นักวิจัยสถาบันโภชนาฯ มหิดล และคณะวิทยาศาสตร์ มช. เผยผลวิจัยพบอาหารที่ขายตามท้องตลาดมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ พริกขี้หนูป่นปนเปื้อนสารเคมี 100% เส้นก๋วยเตี๋ยว-กุนเชียง พบสารกันบูดเพียบ อาหารทะเลเจอฟอร์มาลีนเกินครึ่ง...
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช นักวิจัยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลสำรวจอาหารปนเปื้อนที่เกินมาตรฐานความปลอดภัยในเขต 8 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือน ก.ย.2552-เม.ย.2553 พบว่าในกลุ่มตัวอย่างอาหารทั่วไป เช่น นมโรงเรียนชนิดพาสเจอร์ไรซ์ มีปริมาณแบคทีเรียรวมเกินมาตรฐานร้อยละ 25 นมชนิดยูเอชทีเกินร้อยละ 5 ไส้กรอก ทั้งหมู ไก่และกุนเชียง มีสารกันบูดกว่าร้อยละ 36 ในลูกชิ้นหมู ไก่ และปลา พบการใช้สารกันบูดถึงร้อยละ 100 และการใช้ดินประสิวในระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 26 ทั้งนี้ อาหารประเภทผัก ผลไม้ ร้อยละ 58 พบการปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง โดยในสาลี่ ลูกพลับสด ส้ม องุ่น และถั่วฝักยาว พบมากถึงร้อยละ 78 แอปเปิ้ล บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ กะกล่ำปลี และแตงโมเกินมาตรฐานร้อยละ 25-50 เห็ดหูหนูขาว พบสารเคมีกำจัดแมลงเกินมาตรฐานร้อยละ 9 และสารฟอกขาวร้อยละ 56 สาหร่ายแกงจืด ร้อยละ 36 ขณะที่กุ้งแห้งและปลาหมึกแห้ง พบการปนเปื้อนเคมีกำจัดศัตรูพืชร้อยละ 64 และร้อยละ 62 ตามลำดับ
ที่น่าตกใจ คือ พริกขี้หนูป่น พบร้อยละ 100 นอกจากนี้ อาหารที่ประชาชนนิยมบริโภค เช่น ก๋วยเตี๋ยวก็พบสารกันบูดเช่นกัน โดยเส้นใหญ่ พบร้อยละ 88 เส้นเล็กร้อยละ 75 เส้นหมี่ขาวและบะหมี่ ร้อยละ40 และ 50 ตามลำดับ อาหารกินเล่นอย่างสาหร่ายอบกรอบปรุงรส พบราพิษ และอะฟลาท็อกซินร้อยละ 8 ด้าน รศ.ดร. นวลศรี รักอริยะธรรม ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ที่น่าจับตาคือ อาหารนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจากการสุ่มตรวจ พบว่า อาหารทะเลสดนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านพบการปนเปื้อนฟอร์มาลีนร้อยละ 67 และโลหะหนักสารหนูร้อยละ 4 ขณะที่ผักและผลไม้ ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดแมลง ร้อยละ 36 สารฟอกขาวในผักแห้งร้อยละ 47 สารตะกั่วในสาหร่ายและเยื่อไผ่ ร้อยละ 8 พบปรอท ในก้านเห็ดหอม หน่อไม้แห้ง เห็ดหอมและเยื่อไผ่ ร้อยละ 17 ร้อยละ 12 ในขนมพร้อมบริโภค ลูกอมและเยลลี่ พบสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานร้อยละ 20
ทั้งนี้ ผลกระทบของสารปนเปื้อนในอาหารเหล่านี้ หากสะสมในร่างกาย เช่น สารฟอกขาว จะทำให้หายใจติดขัด ความดันโลหิตต่ำ สารพิษตกค้างจากยาฆ่าแมลงจะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ขาดความต้านทานโรค หากได้รับเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก จะเกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ หายใจติดขัด ช็อกและเสียชีวิตได้ ส่วนสารกันบูดที่อยู่ในเนื้อหมู ลูกชิ้น ไส้กรอก จะเป็นพิษต่อต่อมไต และสมอง ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง สารเหล่านี้ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจอาเจียน มีไข้ และเสียชีวิตได้ ส่วนสารอะฟลาทอกซิน จะมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งในตับสูง ที่น่ากังวลคือ เราไม่รู้ว่าอาหารที่กินในแต่ละวันนั้นมาจากไหน มีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด ซึ่งผู้บริโภคเป็นผู้แบกรับโดยตรง เหมือนเป็นการตายผ่อนส่ง
นอกจากนี้ กลไกควบคุมอาหารปลอดภัยของของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก็ยังคงมีข้อจำกัด แม้จะมีการการเฝ้าระวัง แต่ส่วนใหญ่ยังคงพึ่งชุดทดสอบ (test kits) เป็นหลัก ทำให้ได้ผลเพียงคร่าว ๆ และไม่สามารถตรวจสอบได้ครอบคลุมสารปนเปื้อนสำคัญๆ ได้หมด ข้อจำกัดอีกด้านคือความทั่วถึงของการตรวจและเฝ้าระวัง และข้อกฎหมายด้านความปลอดภัยที่ขาดความชัดเจนในมาตรฐานบางตัว และบทลงโทษที่ไม่รุนแรง การเฝ้าระวังจึงควรเพิ่มบทบาทผู้บริโภคที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ร่วมกับภาควิชาการ และให้บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในเรื่องนี้มากขึ้น ในอนาคต อปท. ต้องจัดสรรงบประมาณดำเนินการเป็นหลัก”
คิดๆแล้วก็ผวาน่ากลัวเหลือเกิน ได้อ่านเช่นนี้แล้วรู้สึกไม่อยากกลับเมืองไทย ผู้เขียนเชื่อว่าจริงเพราะคนไทยนั้นมีนิสัยมักง่ายและเห็นแก่ได้ เรื่องการใช้สารปนเปื้อนในอาหารทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เชื่อขนมกินได้เลยว่ามีแน่นอน



นอกจากนี้คนไทยยังติดนิสัยชอบใส่ผงชูรส ผู้เขียนซื้อผลไม้รถเข็นข้างถนนที่เมืองไทย เขาให้พริกกับเกลือเป็นถุงๆเล็กๆมาด้วย พอสังเกตใกล้ๆก็มองเห็นผงชูรสผสมอยู่ในจำนวนมาก ถึงกับตบอกผาง ตายละวานับประสาแค่ผลไม้จิ้มเกลือยังใส่ผงชูรส แล้วอย่างนี้จะไม่ตายวันตายพรุ่งได้อย่างไร
อาหารที่ใส่ผงชูรสมากนั้นคืออาหารจีนและอาหารไทย ส่วนอาหารชาติอื่นไม่เห็นมีใครเขาบ้าผงชูรสเหมือนเรา อาหารญี่ปุ่นนั้นถ้าไม่ใช่อาหารแห้ง หรืออาหารกระป๋อง แต่เป็นอาหารที่ปรุงแล้วรับประทานเลย ก็ไม่ใส่ผงชูรสอย่างบ้านเรา ทั้งๆที่ญี่ปุ่นนั้นเป็นคนคิดค้นผงชูรสมาตั้งแต่ปี ๑๙๐๙
ร้านอาหารไทยที่อเมริกานี้ ใส่ผงชูรสมากแทบจะทุกร้าน มีร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ร้านหนึ่งเป็นร้านมีชื่อเสียงอยู่ในไทยทาวน์แอลเอนี้เอง ใส่ผงชูรสในน้ำซุปครั้งละ ๒ ถ้วยเต็มๆ แล้วยังใส่ในชามแต่ละชามอีกด้วย มีรายงานว่าคนแถวนั้นเห็นลูกค้าทานก๋วยเตี๋ยวแล้ววิ่งออกมาอาเจียนหน้าร้านอยู่บ่อยๆ
ร้านอาหารจีนก็ใช่ย่อย ผู้เขียนชอบทานกุ้งแชบ๊วยทอดทั้งเปลือกแล้วนำไปผัดกับเกลือใส่พริกชี้ฟ้า ชอบทานมาก ปรากฏว่าพักหลังนี้ได้ลองสังเกตดูก็เห็นว่าเขาเอาไปคลุกกับผงชูรสจนบางทีเห็นเป็นเกล็ดติดตัวกุ้งขึ้นมาด้วย ตั้งแต่นั้นก็เลิกกินอีกเลย
เรื่องของอาหารปนเปื้อนยังมีอีกที่ผู้เขียนได้รับเมลส่งมาเกี่ยวกับการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ในรถร้อนๆแล้วพิษของพลาสติกละลายออกมาปนอยู่ในน้ำ สารพิษที่ว่านี้เรียกชื่อว่า ไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งทรวงอกที่สุภาพสตรีเป็นกันมากในปัจจุบันนี้


ไม่เพียงแต่ขวดน้ำพลาสติกเท่านั้น พลาสติกแร็พ หรือแผ่นพลาสติกที่ใช้คลุมอาหารก่อนเข้าไมโครเวฟนี่แหละเป็นตัวการก่อมะเร็งอย่างมาก เมื่อคิดแล้วก็ต้องตกใจเพราะร้านอาหารเกือบทุกร้านใช้แผ่นพลาสติกนี้แหละคลุมอาหารก่อนเข้าไมโครเวฟเพื่อละลายน้ำแข็ง ชีวิตเราจึงตกอยู่ในอันตรายของมะเร็งอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ดูๆไปก็เหมือนกับว่าถ้าอยากจะปลอดภัยจริงก็ต้องปรุงอาหารรับประทานเอง ปลูกผักสวนครัวกินเองเพราะเชื่อได้ว่าไม่มียาฆ่าแมลง ซึ่งคงจะลำบากลำบนถ้าอยากจะทำจริงๆ

เอาเป็นว่าช่างมันเถิด คนเราจะตายก็ต้องตาย จะระวังรักษาตนแค่ไหนก็ตายได้เสมอ เพียงแต่ภาวนาเอาไว้ว่าเวลาตายขอให้เร็ว และอย่าเจ็บปวดทรมานเป็นภาระคนอื่นเขา แค่นี้ก็พอใจแล้ว

ขอขอบคุณ
http://www.thailanewspaper.com/article/life_style/1410.php

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

จะบอกให้...กระเจี๊ยบแดงพิชิตไขมันในเส้นเลือด


กระเจี๊ยบแดงเป็นกลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด


บล๊อกเก้อชุมชนบ้านเขาน้ำซับวันนี้ขอเสนอเรื่องน่ารู้แต่อาจจะมองข้ามรอบๆตัวเรานั่นคือสมุนไพรไทย ท่านทราบไหมครับว่าสมุนไพรของไทยเราเกือบ 200 ชนิดเป็นยาแก้ป้องกันและลดโรคภัยไข้เจ็บได้หากเรารู้จักนำมารับประทานให้ถูกวิธี

ในชุมชนของเรามีสมุนไพรมากมายแต่วันนี้ขอเสนอสมุนไพรที่ชื่อว่า กระเจี๊ยบแดง ซึ่งมีสรรพคุณมากมายมหาศาลต่อมนุษย์เรา น้ำผลกระเจี๊ยบแดงสามารถทานลดไขมันในเส้นเลือดได้ปัจจุบันคนเราเดี๋ยวนี้ทานแต่ของมันๆทำให้แต่ละคนมีไขมันที่เป็นส่วนเกินกันเยอะมากๆและอาจจะทำเกิดโรคภัยต่างๆได้





น้ำกระเจี๊ยบ ผมว่าเราต้องเคยทานกันมาบ้าง ด้วยรสชาติที่เปรี้ยวนิดๆ อาจถูกใจหลายคน แต่จะบ้างรู้ไหมว่ากระเจี๊ยบที่เราทานกันนั้นแฝงด้วยคุณค่าสมุนไพรไทยอะไรบ้าง


กระเจี๊ยบ สมุนไพรไทย

กระเจี๋ยบแดง


ชื่อวิทย์ Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : MALVACEAE
ชื่ออื่น
กระเจี๊ยบ, กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ผักเก้งเค้ง, ส้มเก้งเค้ง (พายัพ)
ส้มตะเลงเครง, ส้มปู, ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ) แกงแดง (เชียงใหม่)
ส้มพอดี (ภาคอีสาน)
ลักษณะทั่่วไป
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นพืชปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตร ส่วนลำต้น และกิ่งก้านนั้นจะมีสีม่วงแดง
ใบ มีลักษณะอยู่หลายชนิด ขอบใบเว้าลึก 3 หยัก หรือเรียบตัวใบเป็นรูปรีแหลม สำหรับ ก้านของใบนั้นจะยาวประมาณ 5 ซม.
ดอก ดอกมีสีชมพูตรงกลางจะมีสีเข้มกว่า ส่วนนอกดอกจะออกบริเวณง่ามใบ ก้านดอกจะสั้น กลีบรองดอกจะมีลักษณะเป็นปลายแหลม มีประมาณ 8 – 12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยาย ติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มมีลักษณะที่หักง่าย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 ซม.
เมล็ด     ส่วนในของเมล็ดรูปไต เป็นสีน้ำตาลมีจำนวนมากการขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ จะปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุยและดินเหนียวที่ อุ้มน้ำได้ดีส่วนที่ใช้ ยอด ใบ กลีบเลี้ยง เมล็ด ยอดและใบ ใช้สด กลีบเลี้ยง ใช้ตากแห้งและใบสด เมล็ด ใช้เมล็ดที่ตากแห้ง

สรรพคุณ

ยอดและใบ ยอดและใบ ช่วยย่อยอาหาร ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ หล่อลื่นลำไส้ เป็นยาบำรุงธาตุและ ยาระบาย ใช้ภายนอกก็คือตำพอกฝี ต้มน้ำชะ ล้างแผล วิธีใช้โดยแกงหรือต้มกิน ใช้ภายนอก โดยเอาใบตำให้ละเอียดแล้วนำมาประคบฝี ต้มเอาน้ำมาล้างแผล
เมล็ด ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัดและเจ็บ เป็นยาระบาย

วิธีใช้บดให้ละเอียดเป็นผง ผสมกินหรือต้มน้ำกิน ใช้เมล็ดที่แห้ง
กลีบเลี้ยง ทำให้สดชื่น ขับปัสสาวะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ แก้นิ่ว แก้กระหายน้ำ วิธีใช้ โดยใช้ชงน้ำร้อนหรือต้มน้ำกินใช้ที่ตากแห้งแล้วประมาณ 5 – 10 กรัมยา

สารอาหารที่สำคัญ

กระเจี๊ยบอุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินซี นอกจากนี้ยังมีเส้นใยสูง ช่วยให้การขับถ่ายสะดวก ส่วนเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบเป็นสารเคลือบกระเพาะ ช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบได้ดีอีกด้วย




วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร

ยุคราคาแก๊สหุงต้มลอยตัวเราจำเป็นต้องหันมามองรอบๆตัวเราว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะได้รัดเข็มขัดในยุคข้าวยากหมากแพงวันนี้ขอเสนอวิธีการทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารที่เราเหลือกินเหลือใช้จะทิ้งไปมันก็บูดเหม็นทำให้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราแย่ลงไปอีกมาทำให้เศษอาหารให้มีประโยชน์กันเถอะ

การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร

 
ทฤษฏีง่ายๆ ของแก๊สชีวภาพ คือ ในมูลสัตว์จะมีจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ ซึ่งมันจะย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า จุลินทรีย์ตัวนี้มันกินอาหาร ซึ่งผลพลอยได้จากการย่อยสลายนี้มันจะผลิตแก๊สขึ้นมา ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ก๊าซมีเทน ก๊าซนี้มีคุณสมบัติไฟได้ ซึ่งอาหารที่เราเติมให้จุลินทรีย์กิน เป็นมูลสัตว์ ต่างๆ อาจจะเป็น มูลสุกร มูลวัว หรือช้าง ม้า ได้ทั้งนั้น ในส่วนที่เราบรรยายอยู่นี้ เราก็ใช้ เศษอาหารจากครัวเรือน เศษข้าว ผัก เปลือกผลไม้ ของที่เน่าเหม็นจากครัว มาเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ทำให้เราได้แก็สหุงต้มเข้ามาใช้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อ ข้อดีจากการทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร หรือจากมูลสัตว์ มีหลายข้อมาก ยกตัวอย่างเช่น
1.    ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อแก็สหุงต้มจากครัวเรือนขนาดกลางใช้แก๊สเฉลี่ยเดือนละถัง เป็นใช้ราวปีละถัง
2.    มีที่ทิ้งขยะเปียกที่เน่าบูดเหม็น เนื่องจากเศษอาหารต่างๆ หากนำไปทิ้งจะเกิดการเน่าเหม็นแต่หากนำมาใส่ในถังหมักแล้ว เมื่อนำออกไปทิ้งจะไม่มีกลิ่นเหม็น
3.    มีพลังงานทดแทน คือเราสามารถสร้างพลังงานทดแทนมาให้ได้เอง แก็ส LPG ก็อาจนำไปใช้ในรถยนต์ ทำให้ประหยัดการใช้น้ำมันมากขึ้น
4.    กากจากถังแก็ส สามารถนำมาเป็นปุ๋ย ใส่พืชผัก และต้นไม้ได้อีก ซึ่ง เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ไม่สามารถนำไปใส่พืชได้เลย แต่ถ้าผ่าน การหมักจากถังแก๊ส ชีวภาพ จะสามารถนำมาเป็นปุ๋ย
การทำแก๊สชีวภาพจากทฤษฏีจะเห็นว่าเพียงแค่เรานำมูลสัตว์มาเก็บไว้ในที่เก็บอะไรก็ได้ปิดให้สนิทไม่ให้มีอากาศเข้า จุลินทรีย์ก็จะผลิตแก๊สขึ้นมา ซึ่งที่เก็บก็จะเป็นวัสดุอะไรก็ได้ เช่นถังพลาสติก ปูนถังส้วม โอ่งปูน ถังเหล็ก หรือ ถังสแตนเลส ส่วนมากนิยมใช้ถังพลาสติก กับ ปูน เพราะราคาถูก และไม่เป็นสนิม


                                                                    



จากถังเก็บที่ทำให้ไม่มีอากาศเข้า รายละเอียดก็จะเป็นการทำช่องต่างๆ ที่นำแก๊สออก ช่องเติมอาหารให้จุลินทรีย์ ช่องระบายกากออก ซึ่งก็จะดูได้ตามแบบที่มีให้ จากแบบจะเป็นแบบสำหรับ ถังหมัก ขนาด 200 ลิตร แต่เราสามารถ นำไปทำถังที่ใหญ่กว่าได้ โดยใช้แบบเดียวกัน ประโยชน์ จะเห็นว่าการทำแก๊สชีวภาพ มีประโยชน์มากมาย ปัญหาที่ยังไม่ได้รับความนิยม จากที่ผมได้รับรู้มา ก็จะมี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1.            ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายกันบ้างส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าถัง อยู่ที่ เราจะทำขนาดเท่าไร ถ้าถัง ขนาด 200 ลิตร ก็ราวลูกละ 500 บาท ใช้ 3 ลูก ก็ 1500 บาท
2.           รวมค่าท่อ ค่า วาลว์ ปิดเปิด ก็ น่าจะ ประมาณ 2000 บาท ก็ทำได้
ผม ใช้ถังหมัก ขนาด 1000 ลิตร ซื้อใหม่ราคาขาย ปลีก ราว 3000 บาท ถังเก็บแก๊ส 3 ชุด ถัง 200 ลิตร 3 ลูก ถัง150 ลิตร 3 ลูก รวม 6 ลูก ตกลูกละ 500 บาท ก็ 3000 บาท รวมค่าท่อค่าวาลว์เปิดปิด ค่าใช้จ่ายประมาณ 7000 บาท เทียบกับ ค่าแก๊สเดือนละถัง คิดถังละ 300 บาท แต่จริงๆ สามร้อยกว่าบาท จะเห็นว่า 2 ปี เราก็จะคุ้มทุนแล้วครับ อันนี้คิดแต่เงินที่เราต้องจ่ายค่าแก๊ส


 




การเติมเศษอาหารทุกครั้ง ต้องมีการเติมน้ำด้วย ท่อระบายน้ำควรใส่วาล์วปิดเปิดเพื่อป้องกันแก๊สออกในระยะแรก เมื่อระดับน้ำอยู่ระดับเดียวกันกับท่อระบายน้ำต้องมีการระบายน้ำออก และทุก 3 เดือนให้มีการระบายกากออกบ้าง กากที่ระบายออกมานี้เราสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้
เตาแก๊สที่จะนำมาใช้ ควรเป็นเตาเขียว หรือเตาไฮสปีด ก่อนนำมาใช้ต้องมีการดัดแปลงเสียก่อน โดยการเจาะรูพ่นแก๊ส หรือนมหนูให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 1 – 2 หุน เพื่อให้แก๊สชีวภาพไหลได้สะดวก เนื่องจากแก๊สชีวภาพที่เราผลิตเองนี้เป็นแก๊สแรงดันต่ำ ถ้าต้องการเพิ่มแรงดันทำได้โดย ใช้วัตถุที่มีน้ำหนักวางบนถังเก็บแก๊ส
การดูแลรักษา หมั่นเคาะสนิมที่เกิดขึ้นที่หัวเตา และตรวจดูน้ำในสายยางนำแก๊ส ถ้ามีน้ำมากให้ถอดสายยางแล้วเทน้ำออก และกวนใบกวนบ้างวันละ 1 ครั้งเพื่อให้เกิดแก๊สสม่ำเสมอ เราอาจทำถังหมักให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมก็ได้ โดยใช้วิธีการทำโดยรวมแบบเดียวกัน อาจจะประยุกต์บ้างเพื่อความเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานเป็นไปด้วยความสะดวก เช่นอาจใช้ถังสี่เหลี่ยมที่ใช้บรรจุสารเคมี ขนาด 1000 ลิตร เพื่อที่จะได้แก๊สมากขึ้นพอที่จะใช้ในกิจกรรม
 
 


 

ขอขอบคุณข้อมูล คุณ ธีรยุทธ (เอ) มือถือ :088-1471808 เว็บไซต์ :teetatlife.com อีเมลล์ : teetat_farm@windowslive.com