ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อุบัติเหตุในการใช้แก๊สหุงต้มและการป้องกัน



แก๊สหุงต้ม หรือ แอลพีจี (LPG = Liquefied Petroleum Gas) คือผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยไฮโดรคาร์บอน หรือส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด ได้แก่ โปรเพน (Propane : C3H5) และบิวเทน (Butane : C4H10) ซึ่งเป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วจะกระจายลงสู่ระดับต่ำ หากผสมกับออกซิเจนในอากาศ และได้รับความร้อนจากประกายไฟ จะลุกไหม้ได้ทันที
     อันตรายที่เกิดขึ้นมักเกิดจากการที่แก๊สรั่วไหล และการระเบิดของถังแก๊ส ซึ่งมีผลให้เกิดอาการระคายเคือง ของหลอดลม และปอด เนื้อเยื้อถูกทำลาย และหย่อยสมรรถภาพ เกิดภาวะขาดอากาศออกซิเจน มีอาการมึนศีรษะ อาจหมดสติ และเสียชีวิตได้ นอกจากนั้น ยังก่อให้เกิดเพลิงไหม้ อันจะทำอันตรายต่อชีวิต และทำลายทรัพย์สินด้วย
                          
     สาเหตุของอุบัติเหตุจากการใช้แก็สหุงต้ม  อุบัติเหตุจากการใช้แก๊สหุงต้มมักมีสาเหตุดังต่อไปนี้

     1. การขาดความรู้ความชำนานในการใช้ เช่น การเปิดแก๊สก่อนจุดไฟ (กรณีที่ใช้เตาแก๊สที่ต้องจุดไฟ) เมื่อจุดไฟจะทำให้ไฟลุกพรึบขึ้น เนื่องจากมีปริมาณแก๊สออกมามาก ส่วนกรณีที่ใช้เตาแก๊สที่มีระบบการจุดแบบอัตโนมัติ ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน หากเปิดวาล์วที่เตาแก๊สแล้วไฟไม่ติด ก็ยังเปิดซ้ำติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ทำให้มีการสะสมของแก๊ส จำนวนมาก และไฟอาจลุกได้เช่นเดียวกัน
     2. ความประมาทเผลอเรอในการใช้เตาแก๊ส การไม่ระมัดระวังในการประกอบอาหาร เช่น เอื้อมมือข้ามเตาแก๊ส เพื่อหยิบสิ่งของต่างๆ อาจทำให้ไฟไหม้เสื้อผ้า หรือร่างกายได้ การใช้เตาแก๊สแล้วลืมปิดวาล์วที่ถังแก๊ส หรือการไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ และวิธีการใช้แก๊สที่ถูกต้อง ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้
     3. การติดตั้งเตาแก๊สที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง เช่น การติดตั้งในบริเวณที่ไม่มีช่องระบายอากาศเพียงพอ ตั้งถังแก๊สในแนวนอน และตั้งบนพื้นที่ไม่เรียบ ในที่ชิ้นหรือบริเวณที่มีลมพัดแรง เมื่อใช้ไฟแรงๆ ขณะปรุงอาหาร จะทำให้ลมพัดเปลวไฟลุกไหม้ได้
     4. การเสื่อมคุณภาพของอุปกรณ์ที่ใช้เกี่ยวกับแก๊ส เช่น ถังแก๊สมีรอยรั่วรอยแตกท่อสายนำแก๊สฉีกขาด หรือรั่ว เป็นเหตุให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้
     การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้แก๊สหุงต้ม   การป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้แก๊สหุงต้ม สามารถกระทำได้ดังนี้

     1. ผู้ใช้แก๊สควรศึกษาวิธีการใช้และปฏิบัติตามข้อบังคับอย่างถูกต้อง เช่น จุดไฟรอที่เตาก่อน แล้วจึงเปิดวาล์วที่เตาแก๊ส สำหรับเตาแก๊สแบบเก่า และเตาแก๊สปิคนิค ซึ่งต้องใช้ไม้ขีดไฟ หรืออุปกรณ์จุดประกาย ในการติดเตา ส่วนเตาแก๊สระบบการจุดแบบอัตโนมัติ หากเปิดวาล์วที่เตาแก๊สแล้วไฟไม่ติด ให้หมุนกลับ อย่างเปิดติดๆ กันโดยที่ไฟไม่ติด การเปิดทิ้งค้างไว้ทำให้แก๊สไหลออกมา ให้หยุดสักครู่แล้วเปิดใหม่ ขณะที่ใช้งานอยู่ ู่ควรสังเกตไฟที่หัวเตาว่ายังติดอยู่หรือไม่ เพราะอาจมีลมกรรโชกแรง หรือหยดใส่ทำให้ไฟดับได้ หากเกิดกรณีเช่นนี้ ควรรอสักครู่และไล่อากาศออกก่อนที่จะจุดเตาใหม่ และเมื่อเลิกใช้แก๊สหุงต้มแล้ว ต้องปิดวาล์วที่เตาแก๊สทุกเตา และหัวถังแก๊สให้สนิททุกครั้ง นอกจากนี้ไม่ควรเคาะ กระแทก หรือกลิ้งถังแก๊ส หากต้องการเปลี่ยนถังแก๊สใหม่ ควรเปลี่ยนจากร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้มโดยตรง ไม่ควรนำถังแก๊สไปเติมตามปั๊มน้ำมัน เพราะเสี่ยงต่อการระเบิดของตัวถัง ถ้าบรรจุในปริมาณ และความดันที่ไม่ถูกต้อง
     2. ควรเลือกใช้เตาแก๊ส ถังแก๊ส และท่อนำแก๊สที่มีมาตรฐานในด้านความปลอดภัย ถังแก๊สมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ตัวถังใหม่ไม่มีสนิม ไม่มีรอยบุหรือกัดกร่อน
     3. ควรตั้งถังแก๊สและเตาแก๊สไว้บนพื้นที่เรียบแข็งแรง มั่นคง และที่มีการระบายอากาศได้สะดวก สำหรับถังแก๊สให้วางในแนวตั้งเสมอ และห่างจากเตาแก๊สประมาณ 1 เมตรเป็นอย่างน้อย ส่วนเตาแก๊ส ควรตั้งให้สูงกว่า หรืออย่างน้อยอยู่ในระดับเดียวกับหัวถังแก๊ส เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนจากเตาทำลายสายส่งแก๊ส และไม่ควรตั้งเตาแก๊สไว้ในบริเวณที่มีพัดลมพัดแรงเพราะถ้าเปิดไฟ แรงลมอาจพัดเปลวไฟให้ลุกไหม้ได้
     4. ควรใช้ภาชนะให้มีขนาดพอเหมาะกับหัวเตา และภาชนะก้นแบบประกอบอาหาร รวมทั้งตั้งภาชนะให้ตรงกึ่งกลางเตา ทั้งนี้ให้เปลวไฟแผ่ไปทั่วก้นภาชนะ ทำให้ความร้อนกระจายทั่วถึง
     5. ควรดูแลรักษาถังแก๊ส สายนำแก๊ส ลิ้นปิดเปิด หัวเตา หัวปรับ ให้อยู่ในสภาพปลอดภัยเสมอ หากพบว่าส่วนใดชำรุด ควรเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือใช้ช่างชำนาญ มาช่วยตรวจสอบ นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดเตาแก๊สทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ ส่วนหัวเตา และพื้นเตาด้านบนให้ใช้ฟองน้ำหรือผ้าชุบน้ำสบู่ ค่อยๆ เช็ดทำความสะอาด แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดให้สะอาดอีกครั้ง ถ้ามีเศษอาหารเลอะข้างเตา ก็ควรเช็ดทำควรทำความสะอาดทุกครั้งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
     6. ควรติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำหรับป้องกันแก๊สรั่ว และมีมิเตอร์บอกปริมาณแก๊ส ที่เหลือในถัง เพื่อทำความสะอาดและความปลอดภัย นอกจากนั้นควรควรติดตั้งเครื่องเตือนภัยเมื่อเกิดแก๊สรั่ว (Gas Leak Detector) ไว้ในบริเวณที่ใช้แก๊สด้วย เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที
     ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแก๊สรั่ว  เมื่อได้กลิ่นแก๊สหรือเกิดการรั่วของแก๊ส ควรปฏิบัติดังนี้

      1. รีบปิดวาล์วแก๊สที่ถังแก๊ส และที่เตาแก๊สทันที
      2. ห้ามจุดไม้ขีดไฟ สูบบุหรี่ และเปิดหรือปิดสวิทซ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟ และแก๊สระเบิดได้
     3. เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน เพื่อระบายแก๊สออกโดยเร็ว อากาศถ่ายเทได้สะดวก ปกติแก๊สจะหนักกว่าอากาศ ในการทำให้แก๊สระบายออกเร็วกว่าปกติ จึงควรใช้ไม้กวาดอ่อน ๆ พัดสูงเหนือพื้นเล็กน้อยโดยพัดเร็วๆ จะช่วยระบายแก๊สได้เร็วกว่า การที่จะให้แก๊สระเหยออกไปเอง หรือใช้น้ำพรมทั่ว ๆ ก็ได้ แต่ห้ามใช้พัดลมช่วยระบายอากาศโดยเด็ดขาด
     4. ตรวจสอบหาจุก โดยใช้นำสบู่ทาบริเวณที่สงสัยหรือลูบไปตามสายส่ง หากรั่วจริง จะเห็นเป็นฟองสบู่ปุดขึ้นมา ให้รีบแก้ไขโดยด่วน ถ้าแก้ไขไม่ให้ผู้จำหน่ายแก๊ส หรือช่างมาปรับปรุงแก้ไข
กรณีมีไฟลุกขึ้นที่ถัง ให้ใช้น้ำสาดไปที่ติดไฟแรงๆ ทันทีหรือใช้เครื่องดับเพลิงชนิดเคมีแห้ง