ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

" โครงสร้างพื้นฐานพร้อม
   สิ่งแวดล้อมน่าอยู่
ชุมชนแห่งการเรียนรู้
มู่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน "




กระบวนการเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมคนหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล    ทรัพยากรบุคคลในชุมชนเป็นหัวใจสำคัญ
ของการพัฒนา องค์กรชุมชนจะเข้มแข็งไม่ได้หากผู้นำในชุมชนและประชาชนขาดจิตสำนึก ขาดความรู้ความเข้าใจในการกำหนดประเด็นปัญหา การพัฒนาทางเลือก เพื่อดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการ การจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้และขาดการพัฒนาวิสัยทัศ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลหรือ
การเตรียมคนจึงเป็นปัจจัยหลักสำคัญในความสำเร็จของการพัฒนาในระดับชุมชนซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าหากดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้โครงการที่ดำเนิน
การในชุมชนประสบความสำเร็จสูง 

           โดยผู้นำหรือแกนนำที่ประสบความสำเร็จและมักจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีลักษณะดังนี้
                          1. เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ “รู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล” และนำเสนอทางเลือกในการพัฒนาได้
                          2. มีความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนแก้ไขทั้งในระยะสั้น ระยะยาว คิดรอบด้าน และบูรณาการสู่การปฏิบัติได้
                          3. มีความสามารถในการจดจำ ใฝ่รู้ มีการจัดระบบการเรียนรู้ และแสวงหาความรู้ที่ดี
                          4. มีความสามารถในด้านการบริหารจัดการ และการประสานงานกับผู้อื่น
                          5. เป็นผู้มีความตั้งใจจริง “แสดงความเสียสละเพื่อส่วนรวม”
                          6. สามารถพูดชักจูงคนอื่นได้ “นำเสนอทางเลือก และชี้วิสัยทัศให้แก่สังคมได้”
                          7. มีความเข้าใจชีวิต เข้าใจโลก เข้าใจธรรม และเท่าทันต่อสถานการณ์ภายนอกชุมชน
                          8. มีความสามารถในการรับฟังการคิดเห็นของผู้อื่น “ควบคุมตนเอง และยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยใจที่เป็นธรรม”
                          9. ได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน
                          10. มีอุดมการณ์ เชื่อมั่นและยึดมั่นในหลักการ




ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดประเด็นปัญหาของชุมชนและการพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินกิจกรรม  การกำหนดและวางกรอบประเด็นปัญหาโดยชุมชนเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงไปกับการพัฒนาทางเลือกในการดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งนี้เพราะการพัฒนาทางเลือกร่วมกันย่อมนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมร่วมกันแต่การที่จะทำให้ทั้งสองกิจกรรมเป็นไปได้โดยปราศจากความขัดแย้งนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินการโดยผ่านกระบวนการที่สำคัญคือ
                         
                          2.1 กระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน ขั้นตอนสำคัญในกระบวนการนี้
                                1) จะทำอย่างไรให้ครอบครัว ผู้นำชุมชน กลุ่มต่างๆ มีส่วนร่วมในการนำเสนอ
ปัญหาของตนเอง และพิจารณาปัญหาของผู้อื่นร่วมกันทั้งชุมชน
                                2) ศึกษาทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้รู้ความหลากหลายในด้านต่างๆ เช่น
  • ความหลากหลายของทรัพยากรบุคคล
  • ศึกษาลักษณะการทำงานของผู้นำทั้งองค์กรรวมทั้งโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของหมู่บ้าน ชุมชน
  • ศึกษาให้รู้ว่าพื้นที่มีอะไรเด่น มีอะไรดี มีอะไรเก่ง และอะไรที่เป็นความสามารถในการพึ่งตนเองได้
  • ศึกษาภูมิหลัง ภูมิรู้ ภูมิธรรม วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น
  • ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์และการตั้งถิ่นฐาน
  • ศึกษาวิถีชีวิต และโครงสร้างพื้นฐาน และการติดต่อสื่อสาร
  • ศึกษาทุนที่เป็นทั้งเงิน วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ อาชีพ และทรัพยากรธรรมชาติ
  • ศึกษาปัจจัยที่เอื้ออำนวยหรือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนา
                          2.2 การพัฒนาทางเลือกเพื่อดำเนินกิจกรรม
                               1) พื้นฐานที่สุดคือ การพบปะของผู้คนเป็นครั้งคราว (Ad hocassociations)
ซึ่งอาจพบปะในที่เสวนาของชุมชน เพื่อนบ้าน หรือในที่ประชุมสภา องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาจเป็นการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ หรือมีเหตุการณ์ส่งเสริมให้เกิด
การพูดคุย
                2) การรวมกลุ่มสนใจหรือเน้นงานด้านใดด้านหนึ่ง เช่นงานด้านการพัฒนาสุขภาพ
 เป็นต้น
                                3) โครงสร้างพื้นฐานระดับสูงสุด คือ การมี “องค์กรรวม” หรือการจัดให้มี
“คณะทำงาน” ที่สามารถเชื่อสมาชิกหรือประชาชนเข้าหากันได้ โครงสร้างพื้นฐานสาธารณะเหล่านี้จะเป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับคนในชุมชนในเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาชุมชน โดยการเป็นการกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พูดคุยถึงปัญหา ความเป็นอยู่




ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินกิจกรรมของชุมชน
                          “กิจกรรมสาธารณะของชุมชน” เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลายกรณี เช่นกรณีปัญหา กรณีความสนใจ เป็นต้น ซึ่งมีลักษณะพิเศษ คือเกิดจากความสนใจและการมีเป้าหมายร่วมกันของชุมชน ทำให้มีการรวมพลัง มีการสนทนาอย่างพินิจพิเคราะห์ ริเริ่มกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์หลายหลาย มีการจัดการร่วมกันภายใต้ความสัมพันธ์ในแนวระราบเรียนรู้และสรุปบทเรียนร่วมกัน
                          ลักษณะความร่วมมือในการดำเนินการกิจกรรมสาธารณะของชุมชน จึงเป็นลักษณะของเครือข่ายความร่วมมือ
( Net-working) จากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นพหุพาคี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น