ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชุมชนกับความเตรียมพร้อมสู่..ประชาคมอาเชี่ยน




อีกไม่นานประชาคมอาเชี่ยนก็จะได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เราสังคมชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังมิจจะหลีกเลี่ยงถึงผลกระทบต่อชุมชนได้ ดังนั้นเราจะต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้างกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทั้งในด้านความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ และสังคม

ความเป็นอยู่....แน่นอนอาจจะมีผลกระทบบ้างพอสมควร ปกติเราจะอยู่กันในชุมชนแบบปกติสุข แต่อีกไม่นานชุมชนเราอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างเช่น จะมีผู้คนมากมายหลายเชื้อชาติเข้ามาพักอยู่อาศัยในชุมชนมากขึ้นการจัดระเบียบก็จะยากขึ้นสิ่งเหล่านี้เราต้องเตรียมพร้อมไว้เพื่อรับเหตุการณ์ในข้างหน้า

เศรษฐกิจ .... ปัญหาปากท้องของคนในชุมชนอาจจะต้องดิ้นรนกันอีกพักใหญ่ งานก็จะหายากขึ้นหากเราไม่เตรียมพร้อมเสียตั้งแต่วันนี้หลายครอบครัวในชุมชนจะตกอยู่ภาวะเศษฐกิจที่แย่ขึ้น เงินทองหาลำบากขึ้น เราต้องเตรียมความรู้เรื่องภาษาความรู้ความสามารถให้ทัดเทียมกับอณาประชาคมเพื่อจะได้แข่งขันกับเขาได้

สังคม... ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่จัดระเบียบให้ดีปัญหาสังคมก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างแน่นอน แม้แต่ภาษาการสื่อเบื้องต้นก็มีปัญหาแล้ว ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาการจราจรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่กระทบความเป็นอยู่ของสังคมชาวชุมชนทั้งสิ้น

ดังนั้นเราจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่จะเกิดกับผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนตั้งแต่วันนี้



ประชาคมอาเชี่ยนคืออะไร....



ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่

-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้

1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ


...................................

ติดตาม...ชุมชนกับความเตรียมพร้อมสู่ ประชาคมอาเชี่ยน ตอนต่อไป...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น