ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร

ยุคราคาแก๊สหุงต้มลอยตัวเราจำเป็นต้องหันมามองรอบๆตัวเราว่าจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะได้รัดเข็มขัดในยุคข้าวยากหมากแพงวันนี้ขอเสนอวิธีการทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหารที่เราเหลือกินเหลือใช้จะทิ้งไปมันก็บูดเหม็นทำให้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราแย่ลงไปอีกมาทำให้เศษอาหารให้มีประโยชน์กันเถอะ

การทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร

 
ทฤษฏีง่ายๆ ของแก๊สชีวภาพ คือ ในมูลสัตว์จะมีจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ ซึ่งมันจะย่อยสลายอินทรีย์วัตถุต่างๆ หรือเข้าใจง่ายๆ ว่า จุลินทรีย์ตัวนี้มันกินอาหาร ซึ่งผลพลอยได้จากการย่อยสลายนี้มันจะผลิตแก๊สขึ้นมา ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ก๊าซมีเทน ก๊าซนี้มีคุณสมบัติไฟได้ ซึ่งอาหารที่เราเติมให้จุลินทรีย์กิน เป็นมูลสัตว์ ต่างๆ อาจจะเป็น มูลสุกร มูลวัว หรือช้าง ม้า ได้ทั้งนั้น ในส่วนที่เราบรรยายอยู่นี้ เราก็ใช้ เศษอาหารจากครัวเรือน เศษข้าว ผัก เปลือกผลไม้ ของที่เน่าเหม็นจากครัว มาเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ทำให้เราได้แก็สหุงต้มเข้ามาใช้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องเสียเงินไปซื้อ ข้อดีจากการทำแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร หรือจากมูลสัตว์ มีหลายข้อมาก ยกตัวอย่างเช่น
1.    ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อแก็สหุงต้มจากครัวเรือนขนาดกลางใช้แก๊สเฉลี่ยเดือนละถัง เป็นใช้ราวปีละถัง
2.    มีที่ทิ้งขยะเปียกที่เน่าบูดเหม็น เนื่องจากเศษอาหารต่างๆ หากนำไปทิ้งจะเกิดการเน่าเหม็นแต่หากนำมาใส่ในถังหมักแล้ว เมื่อนำออกไปทิ้งจะไม่มีกลิ่นเหม็น
3.    มีพลังงานทดแทน คือเราสามารถสร้างพลังงานทดแทนมาให้ได้เอง แก็ส LPG ก็อาจนำไปใช้ในรถยนต์ ทำให้ประหยัดการใช้น้ำมันมากขึ้น
4.    กากจากถังแก็ส สามารถนำมาเป็นปุ๋ย ใส่พืชผัก และต้นไม้ได้อีก ซึ่ง เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ไม่สามารถนำไปใส่พืชได้เลย แต่ถ้าผ่าน การหมักจากถังแก๊ส ชีวภาพ จะสามารถนำมาเป็นปุ๋ย
การทำแก๊สชีวภาพจากทฤษฏีจะเห็นว่าเพียงแค่เรานำมูลสัตว์มาเก็บไว้ในที่เก็บอะไรก็ได้ปิดให้สนิทไม่ให้มีอากาศเข้า จุลินทรีย์ก็จะผลิตแก๊สขึ้นมา ซึ่งที่เก็บก็จะเป็นวัสดุอะไรก็ได้ เช่นถังพลาสติก ปูนถังส้วม โอ่งปูน ถังเหล็ก หรือ ถังสแตนเลส ส่วนมากนิยมใช้ถังพลาสติก กับ ปูน เพราะราคาถูก และไม่เป็นสนิม


                                                                    



จากถังเก็บที่ทำให้ไม่มีอากาศเข้า รายละเอียดก็จะเป็นการทำช่องต่างๆ ที่นำแก๊สออก ช่องเติมอาหารให้จุลินทรีย์ ช่องระบายกากออก ซึ่งก็จะดูได้ตามแบบที่มีให้ จากแบบจะเป็นแบบสำหรับ ถังหมัก ขนาด 200 ลิตร แต่เราสามารถ นำไปทำถังที่ใหญ่กว่าได้ โดยใช้แบบเดียวกัน ประโยชน์ จะเห็นว่าการทำแก๊สชีวภาพ มีประโยชน์มากมาย ปัญหาที่ยังไม่ได้รับความนิยม จากที่ผมได้รับรู้มา ก็จะมี 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1.            ค่าใช้จ่ายในการลงทุน ค่าใช้จ่ายกันบ้างส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นค่าถัง อยู่ที่ เราจะทำขนาดเท่าไร ถ้าถัง ขนาด 200 ลิตร ก็ราวลูกละ 500 บาท ใช้ 3 ลูก ก็ 1500 บาท
2.           รวมค่าท่อ ค่า วาลว์ ปิดเปิด ก็ น่าจะ ประมาณ 2000 บาท ก็ทำได้
ผม ใช้ถังหมัก ขนาด 1000 ลิตร ซื้อใหม่ราคาขาย ปลีก ราว 3000 บาท ถังเก็บแก๊ส 3 ชุด ถัง 200 ลิตร 3 ลูก ถัง150 ลิตร 3 ลูก รวม 6 ลูก ตกลูกละ 500 บาท ก็ 3000 บาท รวมค่าท่อค่าวาลว์เปิดปิด ค่าใช้จ่ายประมาณ 7000 บาท เทียบกับ ค่าแก๊สเดือนละถัง คิดถังละ 300 บาท แต่จริงๆ สามร้อยกว่าบาท จะเห็นว่า 2 ปี เราก็จะคุ้มทุนแล้วครับ อันนี้คิดแต่เงินที่เราต้องจ่ายค่าแก๊ส


 




การเติมเศษอาหารทุกครั้ง ต้องมีการเติมน้ำด้วย ท่อระบายน้ำควรใส่วาล์วปิดเปิดเพื่อป้องกันแก๊สออกในระยะแรก เมื่อระดับน้ำอยู่ระดับเดียวกันกับท่อระบายน้ำต้องมีการระบายน้ำออก และทุก 3 เดือนให้มีการระบายกากออกบ้าง กากที่ระบายออกมานี้เราสามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้
เตาแก๊สที่จะนำมาใช้ ควรเป็นเตาเขียว หรือเตาไฮสปีด ก่อนนำมาใช้ต้องมีการดัดแปลงเสียก่อน โดยการเจาะรูพ่นแก๊ส หรือนมหนูให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ประมาณ 1 – 2 หุน เพื่อให้แก๊สชีวภาพไหลได้สะดวก เนื่องจากแก๊สชีวภาพที่เราผลิตเองนี้เป็นแก๊สแรงดันต่ำ ถ้าต้องการเพิ่มแรงดันทำได้โดย ใช้วัตถุที่มีน้ำหนักวางบนถังเก็บแก๊ส
การดูแลรักษา หมั่นเคาะสนิมที่เกิดขึ้นที่หัวเตา และตรวจดูน้ำในสายยางนำแก๊ส ถ้ามีน้ำมากให้ถอดสายยางแล้วเทน้ำออก และกวนใบกวนบ้างวันละ 1 ครั้งเพื่อให้เกิดแก๊สสม่ำเสมอ เราอาจทำถังหมักให้มีขนาดใหญ่กว่าเดิมก็ได้ โดยใช้วิธีการทำโดยรวมแบบเดียวกัน อาจจะประยุกต์บ้างเพื่อความเหมาะสมทั้งนี้เพื่อให้การใช้งานเป็นไปด้วยความสะดวก เช่นอาจใช้ถังสี่เหลี่ยมที่ใช้บรรจุสารเคมี ขนาด 1000 ลิตร เพื่อที่จะได้แก๊สมากขึ้นพอที่จะใช้ในกิจกรรม
 
 


 

ขอขอบคุณข้อมูล คุณ ธีรยุทธ (เอ) มือถือ :088-1471808 เว็บไซต์ :teetatlife.com อีเมลล์ : teetat_farm@windowslive.com

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 มีนาคม 2557 เวลา 18:07

    น่าลองไปทำมั่งจังค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ7 กันยายน 2557 เวลา 21:22

    ดีคับ เยี่ยมมากๆ

    ตอบลบ
  3. ขอรูปขั้นตอนการทำถังหมักหน่อยได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  4. สวัสดี
    นี่คือการแจ้งให้สาธารณชนทั่วไปทราบว่าองค์กรคริสเตียนโรมันคาทอลิกได้เปิดโอกาสทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเช่นความช่วยเหลือทางการเงิน ดังนั้นหากคุณประสบปัญหาด้านการเงินหรือมีปัญหาด้านการเงินและต้องมีเงินทุนในการเริ่มต้นธุรกิจของคุณเองหรือต้องชำระค่าใช้จ่ายด้วยระยะเวลาในระยะยาวและระยะสั้นที่คุณเลือกด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ 2% per annul for individual and company.please ติดต่อเราวันนี้ทางอีเมล์ที่อยู่: (romancatholic19@gmail.com) พระคัมภีร์กล่าวว่า (ลูกา 11:10) สำหรับทุกคนที่ได้รับ คนที่แสวงหาพบ และผู้ที่เคาะประตูจะเปิดออก ดังนั้นอย่าพลาดโอกาสนี้เพราะพระเยซูทรงเป็นเช่นเดียวกันเมื่อวานนี้ทุกวันนี้และตลอดไป ขอให้ทุกคนได้รับการทักทายอย่างจริงใจจากองค์กรคริสเตียนโรมันคาทอลิกติดต่อเราวันนี้ผ่านอีเมลนี้: (romancatholic19@gmail.com)

    ตอบลบ