ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่องเก่ามาเล่าใหม่กับประธานชุมชนบ้านเขาน้ำซับ โดย ไทยออยล์ จุลสารชุมชนของเรา



จากจุลสารไทยออยล์เพื่อชุมชนปีที่ 1 ฉบับที่ 6 ประจำเดือน มีนาคม-เมษายน 2554
โดย กองบรรณาธิการ

วันเดินทางไปบ้านประธานชุมชน
เขาน้ำซับตามเวลานัดหมาย เราตกใจเมื่อ
เห็นกลุ่มควันโขมงเต็มหน้าบ้าน พอเข้าไป
ใกล้สักหน่อยถึงได้มองเห็นอาจารย์ไพบูลย์
กัญญาคำ แขกคนสำคัญของเรา กำลัง
ปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน ในการอำนวยการ
ดูแลงานพ่นควันไล่ยุงในเขตชุมชนบ้าน
เขาน้ำซับอยู่นั่นเอง
คุณไพบูลย์ กัญญาคำ หรือที่ใคร ๆ ต่างเรียกขาน
ท่านด้วยความเคารพว่าอาจารย์ไพบูลย์ เล่าถึงความเป็นมา
ของชุมชน บ้านเขาน้ำซับให้เราฟังว่า แรกเริ่มเดิมทีกลุ่ม
บ้านในบริเวณนี้เรียกกันว่าหมู่บ้านเขาน้ำซับ หมู่ที่ 6
ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี พื้นที่ติดกับมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สมัยก่อนพื้นที่บริเวณ
ชุมชนใช้เป็นที่เลี้ยงวัวเลี้ยงควายของชาวบ้าน พอเสร็จ
จากหน้านา ชาวบ้านต่างพากันนำวัวควายมาปล่อยให้
หากินตามลำพังของมัน พอถึงหน้านาอีกครั้ง ก็จะมาจับ
เอาวัวควายที่ปล่อยไว้กลับไปไถนา สมัยนั้นไม่มีขโมย
เหมือนในปัจจุบัน ชาวบ้านรู้จักมักคุ้นกัน เป็นญาติกัน
อยู่กันด้วยความสงบสุขเป็นอย่างดีมาก
ต่อมาประมาณปี 2542 เทศบาลต้องการให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง จึงได้จัดตั้งเป็น
ชุมชนบ้านเขาน้ำซับขึ้น มีกรรมการ 9 คน ที่ปรึกษา
ชุมชน 5 คน โดยมีอาจารย์ไพบูลย์รับหน้าที่ประธาน
ชุมชนเรื่อยมา
 





"
คณะกรรมการเราก็ใช้วิธี
เข้าไปคุยกับเขาเพื่อหาข้อมูล
เพื่อช่วยเหลือเขา ถือเป็นการ
ช่วยซึ่งกันและกัน

“ผมเป็นประธานมาตั้งแต่แรก ได้รับความร่วมมือจาก
คณะกรรมการด้วยดีเสมอมา เราปกครองดูแลซึ่งกันและกันเหมือน
กับพี่ ๆ น้อง ๆ เป็นแบบคนในครอบครัว มีอะไรเราก็ปรึกษาหารือกัน
อาจมีความเห็นขัดแย้งกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วถ้าเป็นประโยชน์ต่อ
ชุมชน เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องทุกคนโดยส่วนรวม ทุกคนก็เข้าใจ
เลยไม่มีปัญหาอะไร”
อาจารย์เล่าถึงหลักการบริหารงานชุมชนที่
ยึดถือมาโดยตลอด
จากอดีตครูหนุ่มไฟแรงชาวร้อยเอ็ด ที่ย้ายมาอาศัยและ
ทำงานอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2499 ต่อมาได้กลายเป็นเขย
ชาวบ้านอ่าวอุดม ระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมาเป็นบทพิสูจน์ได้
อย่างดีถึงความรักและความผูกพันกับชุมชนท้องถิ่นบ้านเขาน้ำซับ
แห่งนี้ รวมถึงการดูแลลูกหลานในชุมชนด้วยความเมตตาด้วย
จิตวิญญาณแห่งความเป็นครู อาจารย์เล่าให้เราฟังต่อด้วยสีหน้ายิ้ม
แย้มว่า
“ผมเป็นครูตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ สอนที่โรงเรียนบ้านชากยายจีนจน
เกษียณ สอนลูกศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่า ผมอยากให้ลูกหลานในชุมชน
ของเราเวลามีปัญหาอะไรให้มาพูด ไปทำอะไรผิดมาก็ขอให้มาเล่าให้ฟัง
เมื่อ 2-3 วันมีเด็กที่กำลังเรียน ปวช. ปวส.อยู่ เขาอยากให้ผมเซ็น
รับรองว่า เยาวชนคนนี้มีส่วนร่วมช่วยเหลือชุมชนอย่างไรบ้าง ผม
เซ็นรับรองให้ และอดไม่ได้ที่จะสอนเขาตามประสาครูให้ตั้งใจเรียน
ต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อท้องถิ่น ต่อพ่อแม่ และผู้มีพระคุณทุกคน
สอนให้ตั้งใจเรียน เพราะวิชาความรู้เป็นสิ่งสำคัญ ให้ตั้งใจเรียนแต่อย่าทำ
ในสิ่งไม่ดี



ต่อคำถามเรื่องอุปสรรคในการดูแลชุมชน อาจารย์ไพบูลย์
กล่าวว่า
“นอกจากปัญหาเรื่องยาเสพติดและปัญหาลักเล็กขโมยน้อยแล้ว
ชุมชนที่นี่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องขยะมูลฝอย ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่า
ที่บ้านเขาน้ำซับนี้มีร้านค้าของเก่ามากมายเต็มไปหมด บางร้านค้า
ของเก่าบางคนต้องขอชมเชยว่า เขามีความรับผิดชอบสูง แต่มีบางแห่ง
ที่ยังไม่ค่อยเรียบร้อย คณะกรรมการเราก็ใช้วิธีเข้าไปคุยกับเขาเพื่อ
หาข้อมูล เพื่อช่วยเหลือเขา ถือเป็นการช่วยซึ่งกันและกัน”
“นอกจากนั้น ในส่วนของพ่อแม่พี่น้องในชุมชน ผมอยาก
ขอร้องให้ทุกท่านให้ความร่วมมือกับทางเทศบาล ชุมชน หรือบริษัท
ต่าง ๆ เวลาที่เขามาสอบถามข้อมูลด้านต่าง ๆ หากท่านให้ความร่วมมือ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
เป็นจริง เพื่อที่จะได้นำไปแก้ปัญหาที่ตรงจุด ทำให้ท้องถิ่นของเรา
เจริญ และพ่อแม่พี่น้องอยู่อย่างเป็นสุขขึ้น”
สำหรับมิตรใกล้ชิดที่คุ้นเคยกันมานานอย่างโรงกลั่นไทยออยล์
อาจารย์ไพบูลย์กล่าวทิ้งท้ายให้เราฟังว่า
“ผมขอเรียนจากใจจริงว่า
ไทยออยล์เป็นบริษัทฯ ที่จริงใจและจริงจังในการทำงานเพื่อชุมชน
โดยไม่มีอะไรเคลือบแฝง นึกถึงแต่ประโยชน์และความสุขของพ่อแม่
พี่น้อง และมีความเมตตากรุณาต่อชาวบ้านทุก ๆ คนเป็นอย่างดี
มีความเป็นประชาธิปไตย ให้ความสำคัญกับความคิดของชาวบ้าน
มาโดยตลอด ผมอยากบอกว่า ชุมชนทั้ง 7 ชุมชนของเราก็รักไทยออยล์
เหมือนกับพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ครับ”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น