ยินดีต้อนรับสู่เว๊ปไซท์ชุมชนบ้านเขาน้ำซับ ทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเว๊ปไซท์นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมและผู้ที่ติดตามข่าวสารของชุมชนหากมีข้อติชมหรือต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขโปรดติดต่อทีมงาน....ขอขอบคุณทุกๆท่าน

วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556

คนในชุมชนกำลังถูกคุกคาม


ใช่แล้วครับคนในชุมชนกำลังถูกคุกคามจากโรคเบาหวานสถิติแต่ละชุมชนในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังแต่ละปีจะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นทุกหน่วยงานของเทศบาลและ อสม.ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่มีการตรวจวัดคัดกรองโรคเบาหวานในชุมชนอยู่บ่อยๆครั้ง

ปัญหาที่พบผู้ป่วยที่เป็นโรคหวานนั้นส่วนใหญ่ขาดการออกกำลังกายการดูแลอาหารการกินที่ไม่ถูกไม่วิธีและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน

วันนี้บล๊อกเก้อของชุมชนบ้านเขาน้ำซับจะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานให้พี่น้องในชุมชนได้รับรู้และจะได้เข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวานเพื่อนำไปปฎิบัติและหลีกเลี่ยงกับโรคร้ายตัวนี้



โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิคดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินหรือจาการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ น้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นระยะเวลานานทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆเช่น ตา ไต ระบบประสาท โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร
ในคนปกติในระยะที่ไม่ได้รับประทานอาหารตับจะมีการสร้างน้ำตาลออกมาตลอดเวลาเพื่อให้เป็นอาหารของสมองและอวัยวะอื่นๆ ในระยะหลังรับประทานอาหารพวกแป้งจะมีการย่อยเป็นน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด ระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นจะกระตุ้นให้มีการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนเพื่อเพิ่มการนำน้ำตาลไปใช้ทำให้ระดับน้ำตาลลดลงมาเป็นปกติ
ในผู้ป่วยเบาหวานที่อาจเกิดจากการขาดอินซูลินหรือดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลินทำให้ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ ขณะเดียวกันมีการย่อยสลายไขมันและโปรตีนในเนื้อเยื่อมาสร้างเป็นน้ำตาลมากขึ้น ทาให้มีน้ำตาลในเลือดสูง จนล้นออกมาทางไตและมีน้ำตาลในปัสสาวะ เป็นที่มาของคำว่า
เบาหวาน



อาการของโรคเบาหวาน
ระดับน้ำตาลคนปกติจะอยู่ในช่วง
70-99 มก./ดล. ก่อนรับประทาทนอาหารเช้า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสูงจากค่าปกติไม่มากอาจไม่มีอาการชัดเจน จะต้องทำการตรวจเลือดเพื่อการวินิจฉัย ถ้าไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานมาเป็นเวลานานผู้ป่วยอาจมาตรวจพบด้วยภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานได้
ผู้ป่วยที่มีน้ำตาลสูงกว่าค่าปกติมากอาจมีอาการจากน้ำตาลในเลือดสูงหรือจากภาวะแทรกซ้อนได้แก่
• ปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะช่วงกลางคืน เกิดจากการที่น้ำตาลรั่วมากับปัสสาวะและดึงน้ำออกมาด้วย
• คอแห้ง ดื่มน้ำมาก กระหายน้ำ เกิดจาการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ
• หิวบ่อยทานจุ แต่น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย เกิดจากการที่ร่างกายใช้กลูโคสเป็นอาหารไม่ได้ต้องใช้โปรตีนและไขมันเป็นพลังงานแทน
• แผลหายยาก มีการติดเชื้อทางผิวหนัง เกิดแผลได้บ่อย น้ำตาลที่สูงทำให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง

คันตามผิวหนัง ติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้ป่วยหญิง
• ตาพร่ามัว อาจเกิดจากน้ำตาลคั่งในเลนซ์ตา โรคจอประสาทตาจากเบาหวนหรือต้อกระจก

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
1.
มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากว่า 200 มก./ ดล.โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
2. ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
3.
การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง 100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัมที่อยู่ ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่าความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่า เป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวาน
การวินิจฉัยอาศัยระดับการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดดังนี้
1.
มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนดังกล่าวข้างต้น และมีระดับน้ำตาลในเลือดมากว่า 200 มก./ ดล.โดยไม่จำเป็นต้องอดอาหาร
2.
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป อย่างน้อย 2 ครั้ง
3.
การตรวจโดยการให้รับประทานกลูโคส 75 กรัมพบว่ามีระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส ตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป
ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหารเช้าที่อยู่ในช่วง
100-125 มก./ดล. เรียกว่า ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ ระดับน้ำตาลหลังรับประทานกลูโคส 75 กรัมที่อยู่ ในช่วง 140-199 มก./ดล. เรียกว่าความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง ทั้งสองภาวะนี้เรียกรวมกันว่า เป็น ระยะก่อนเป็นเบาหวาน




ผู้ที่ควรตรวจหาโรคเบาหวาน
ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานดังข่างต้น
• อายุมากกว่า
40 ปี
• มีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
• เคยมีระน้ำตาลอยู่ในระยะก่อนเบาหวาน
• เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
• คลอดบุตรหนักมากกว่า
4 กก.
มีความดันโลหิตสูง
• มีไขมันในเลือดผิดปกติ
• มีโรคหลอดเลือดตีบแข็ง
• มีโรคที่บ่งว่ามีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้แก่โรครังไข่มีถุงน้ำหลายถุง
ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวแม้ไม่มีอาการของโรคเบาหวานควรตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ในข่าย สงสัยควรตรวจซ้ำในระยะ
1 ปี
ประเภทของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานสามารถแบ่งได้เป็น
4 ชนิดดังนี้
เบาหวานชนิดที่
1 มักพบในคนอายุน้อย มักต่ำกว่า 30 ปี มากที่สุดเกิดในช่วงวัยรุ่น เกิดจากตับอ่อน ไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอม อาจเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงหรื หอเลือดเป็นกระคีโตน การรักษาต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5%
เบาหวานชนิดที่
2
มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีการหลั่งอินซูลินลดลง มักมีรูปร่างอ้วนและมีประวัติโรคเบาหวานในครอบครัว สามารรักษาด้วยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล ในรายที่เป็นนานๆการสร้างอินซูลินลอลงมากๆก็อาจต้องฉีดอินซูลิน ในประเทศไทยพบมากกว่า 95%
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุเฉพาะ
เช่น โรคเบาหวานที่สาเหตุทางกรรมพันธุ์ โรคของตับอ่อน ฮอร์โมนผิดปกติ จากยาบางชนิดเช่น ยาสเตียรอยด์ โรคเบาหวานที่เกิดขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกขณะผู้ป่วยตั้งครรภ์ โดยที่ผู้ป่วยไม่มีประวัติเป็นโรคเบาหวานมาก่อน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน การรักษามักต้องใช้อินซูลิน หลังคลอดเบาหวานมักหายไป และผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่
2 เมื่อมีอายุมากขึ้น


การป้องกันโรคเบาหวาน
การให้โภชนะบำบัดที่เหมาะสม การออกกำลังกายและ ลดน้ำหนัก
5-10% ในผู้ที่อ้วน สามารถลดการเป็นเบาหวานได้
การรักษาโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาดจะต้องควบคุมโรคไปตลอดชีวิตและอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ ในการดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ การรักษาได้แก่
• การควบคุมอาหาร
• การออกกำลังกาย
• การรักษาด้วยยาเม็ดลดระดับน้ำตาล และ
/หรืออินซูลิน
• การได้รับสุขศึกษาในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และสามารถปฏิบัติตนในกสนควบคุมโรคเบาหวานได้ถูกต้อง
โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
เป็นผลจากกาควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีอาจมีปัจจัยอื่นร่วมได้แก่ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง การสูบบุหรี่
ภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้น
เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ การเกิดเลือดเป็นกรดจากคีโตน ภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูงจากการติดเชื้อ การเกิดน้ำตาลต่ำจากยาที่ใช้รักษา
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การควบคุมเบาหวานไม่ดีในระยะยาวทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในระยะยาวได้แก่ โรคจอประสาทตาจากเบาหวาน โรคไตวาย โรคประสาทส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดส่วนปลาย นำไปสู่ความสูญเสียชีวิตและพิการ สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา
เป้าหมายการควบคุมตามคำแนะนำของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา
เป้าหมาย
1.
น้ำตาลก่อนอาหาร (มก./ดล.) 90-130
2.
น้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง (มก./ดล.) <180
3.
น้ำตาลเฉลี่ย HbA1C (%) <7
4.
โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <180
5.
เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) >40
6.
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <100
7.
ไตรกลีเซอไรด์ (มก./ดล.) <150
8.
ดัชนีมวลกาย (กก/ตรม.) <23
9.
ความดันโลหิต (มม.ปรอท) <130/80
10.
ออกกำลังกาย (นาที/สัปดาห์) 150
การกำหนดเป้าหมายอาจได้รับการพิจารณาในรายละเอียดเฉพาะในผู้ป่วยแต่ระรายโดยคำนึงถึงอายุ สภาวะร่างกาย และ ภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่เกิดขึ้น
แม้โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำเนินชีวิตได้เหมือนคนปกติ

.พ ณัฐพงศ์ โฆษชุณหนันท

............................................................................................................................................

สจ.อินทร์บุตร รายงานจากชุมชนบ้านเขาน้ำซับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น